“น้ำใจอยู่ที่คนให้ ไม่ใช่คนรับ” เก็บไว้สอนลูก เขียนได้ดีมากๆ
#ว่าด้วยเรื่องของน้ำใจ
มีคุณแม่ท่านหนึ่ง เล่าเรื่องของลูกสาว และขอคำปรึกษาว่าจะแนะนำลูกอย่างไรดี?
ลูกสาวเป็นเด็กดี มีน้ำใจกับเพื่อนๆ แต่โลกในความเป็นจริงก็ไม่เหมือนที่เราคาดหวัง บางครั้งแม้ลูกจะมีน้ำใจกับเพื่อนๆ แต่เพื่อนๆ บางทีก็ไม่ได้ให้ความมีน้ำใจตอบ แถมบางทียังถูกเพื่อน แ ก ล้ ง และเอาเปรียบ ลูกสาวคุณแม่ ผิ ด หวังกับสิ่งเกิด เลยไม่แน่ใจว่า การมีน้ำใจกับเพื่อนๆ แบบนี้ถูกหรือไม่!!
แม่สงสัยและเริ่มไม่แน่ใจว่าจะตอบลูกอย่างไรดี?
อย่างไรก็ตาม คุณแม่ต้องมีความเชื่อมั่นก่อนในเรื่องการทำความดี มีน้ำใจกับคนรอบข้าง จึงจะให้ความเชื่อมั่นกับลูกได้ และต้องให้กำลังใจและชื่นชมในสิ่งดีๆ ที่ลูกทำไป
พ่อแม่บางคน อาจจะบอกลูกว่า…“ถ้าเป็นแบบนั้น เราก็ไม่ต้องไปดีกับคนอื่นมาก” หรือ “สังคมก็เป็นแบบนี้ ไม่มีใครจริงใจกับเรา” แม้กระทั่ง สอนให้ลูกมองโลกในแง่ร้ๅย ถ้าไม่จำเป็นไม่ต้องทำดีกับใคร ไม่ต้องจริงใจกับใครด้วย เพื่อจะได้ไม่ต้องมาผิดหวังทีหลัง
คำสอนเหล่านี้ ทำให้เกิดความ ก ลั วในใจเด็ก แล้วถ้าได้ฟังบ่อยๆ เด็กบางคนมีความหวาดระ แ ว ง ไม่กล้ๅที่จะเปิดใจสร้ๅงความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับใคร กลายเป็นแผลในใจของเด็ก พ่อแม่ควรให้ความมั่นใจกับเด็ก ให้มีกำลังใจและแน่วแน่ในความดีที่เราทำไป อย่ๅงน้อยๆ สิ่งดีที่ทำก็ดีกับตัวเอง ให้มีความหนักแน่นในความดีที่เรายึดมั่น
อย่างที่สอง รับฟังและยอมรับความรู้สึกผิดหวังของลูก…
บอกกับลูกว่า…เป็นธรรมดาที่ชีวิตเราต้องเจอเรื่องผิ ด หวัง เรื่องบางเรื่องก็ไม่เป็นเหมือนที่คาดหวัง เรื่องจริงที่เกิดขึ้นก็คือ “เราไม่สามารถควบคุมการกระทำของคนอื่นได้” เราทำได้แต่เพียงตัดสินใจว่า เราจะทำแบบไหน เป็นอย่างไร?
อย่างที่สาม เข้าใจในตัวตนและให้ลูกได้ตัดสินใจและเรียนรู้เองว่า จะทำอย่างไรต่อไป…
บทเรียนที่เขาได้เรียนรู้ จะเป็นประสบการณ์ชีวิตที่สอนเขาในวันข้างหน้า ว่าเป็นธรรมดาที่ในชีวิตของคนเรา ต้องพบเจอกับเรื่องผิดหวัง และหลายๆครั้งที่ความผิดหวังที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องที่เราควบคุมไม่ได้ เพราะเกิดจากคนอื่น ก็ขอให้อย่ๅท้อแท้ และมีกำลังใจในการทำความดีต่อไป
เขียนมาถึงตรงนี้ทำให้หมอคิดถึงคำพูดหนึ่งที่บอกไว้ว่า…
“เรามีน้ำใจกับเขา ถึงเขาไม่เห็น น้ำใจเราก็ยังมีอยู่ การที่เขาไม่มีน้ำใจกับเราไม่ได้ทำให้เรากลายเป็นคนไม่มีน้ำใจไปด้วย น้ำใจอยู่ที่คนให้ ไม่ใช่คนรับ”
ขอขอบคุณ : ตอนหนึ่งในนิยายเรื่อง ทานตะวัน ของ ว.วินิจฉัยกุล
หมอมินบานเย็น